วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556

ตำหนิพระ อัฐิครูบา เปรียบเทียบเก๊กับแท้

ตำหนิพระ ครูบาหลังย่น แท้กับเก๊

ตำหนิพระ ครูบาหลังย่น เทียบมวลสารรุ่นต่อรุ่นเป็นพระเนื้อดินเผาผสมเถ้าอัฐิครูบาเจ้าศรีวิชัย โดยเถ้าเฝ่าหรือเถ้าอัฐิที่นำมาใช้เป็นมวลสารผสมลงในองค์พระเครื่องรุ่นดังกล่าวนี้ ได้มาจากบริเวณที่ตั้งเมรุชั่วคราวในงานพระราชทานเพลิงศพครูบาเจ้าศรีวิชัย ณ วัดจามเทวี จ.ลำพูน เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2489 ผสมกับมวลสารพระสกุลลำพูน และ มวลสารอื่น ๆ

ประวัติการจัดสร้าง ครูบาหลังย่น

พระรูปเหมือนอัฐิหลังย่น หรือ พระครูบาหลังย่น มีผู้บันทึกชัดเจนว่าสร้างเมื่อ วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2489 จนถึงปี พ.ศ.2491 โดยถือเป็น รุ่นที่ 1 มีพระครูประสาสน์สุตาคม เป็นประธานจัดสร้าง สำหรับรุ่นที่ 2 นั้น สร้างเมื่อ วันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2496 นอกจากนี้ยังมีการสร้างอีกครั้งเมื่อ พ.ศ.2505 โดยครูบาทึม พรหมเสน โดยนับเป็นรุ่นที่ 3 ซึ่งรุ่นนี้ใต้ฐานองค์พระจะเจาะรูบรรจุเส้นเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัยไว้ สำหรับรุ่นสุดท้ายสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2511 โดยปรากฏอักษรปั๊ม วัดจามเทวี เป็นเครื่องหมาย

 พุทธคุณ และ วัตถุประสงค์จัดสร้าง ครูบาหลังย่น

วัตถุประสงค์ในการจัดสร้างพระรูปเหมือนครูบาศรีวิชัย รุ่น อัฐิหลังย่น นั้น กล่าวว่าเพื่อหาทุนสร้างกู่ธาตุที่บรรจุอัฐิธาตุครูบาเจ้าศรีวิชัยในสถานที่ต่าง ๆ โดยนำพระที่จัดสร้างขึ้นบรรจุในพานตั้งไว้กลางวิหารวัดจามเทวี ใครที่ต้องการก็นำพระไปพร้อมกับทำบุญร่วมกุศลตามแต่ศรัทธา เมื่อพระใกล้หมดก็สร้างขึ้นอีกตามช่วงเวลาที่กล่าวถึงข้างต้น ในส่วนของด้านพุทธคุณนั้น กล่าวกันว่าพระเครื่องรุ่นดังกล่าวดีเด่นทางด้านเมตตาและแคล้วคลาด

วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

จอบใหญ่หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน ตำหนิพระ

จอบใหญ่หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน
ตำหนิพระ

ตำหนิพระ
1.เหรียญมีตุ่ม ตรงโคนอีกแบบหนึ่ง เป็นแบบเรียบ
2. ลูกตาซ้ายหลวงพ่อจะกลม ส่วนลูกตาขวาหลวงพ่อ จะเป็นทรงรี แนวนอน
3.ปากยุบเป็นแอ่งยาวรี ริมฝีปากเป็นส้นสั้นๆติดจมูก
4.ซอกข้างศรีษะหลวงพ่อจะลึกมาก
5.ไข่ปลาเป็นเม็ดเขื่อง
 6.ขอบข้างเหรียญซ้ายมือเรา จะเป็นแอ่งท้องช้างเบาๆ
 7.ปลายจีวร ในซอกแขนซ้ายหลวงพ่อมักปรากฏเป็นตุ่ม 3 ตุ่ม
8.ปลายเส้นขอบเหรียญ จะจรดแข้ง สังเกต ด้านหลัง รอบปากปลิง ที่โคนหูเหรียญ เป็นรอยเยิ้ม ของหุ่นเทียนขณะขณะเชื่อมหูเหรียญ




วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

ชี้ตำหนิพระ เหรียญครูบาศรีวิชัย 2482 กรรมการ

 เหรียญครูบาศรีวิชัย แจกกรรมการมีการจัดสร้างน้อย ราคาและพุทธคุณ จึงสูง หายาก ใครมีบูชาขึ้นคอเป็นสิริมงคลอย่างยิ่ง

วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

ตำหนิพระ เหรียญครูบาเจ้าศรีวิชัย 3 ชาย


 ตำหนิพระ  เหรียญครูบาเจ้าศรีวิชัย 3 ชาย  เหรียญครูบาเจ้าศรีวิชัยปี2482 ที่โด่งดังลือด้วยประสบการณ์ มหาอุด หยุดปืน หายากและมีราคาแพง ใครสร้างและใครปลุกเสก ด้วยยังไม่มีใครกล่างถึงไว้อย่างแน่ชัด ครูบาศรีวิชัยท่านมรณภาพเมื่อปี2481 เหรียญนี้บ่งบอกไว้อย่างชัดเจนว่าสร้างในปี2482 ดังนั้นเหรียญนี้จึงเป็น เหรียญตาย ครับ 
     ดต.บุญส่วน พุทธวงวรรณ ท่านได้บังเอิญไปอ่านเจอในหนังสือในหนังสือประวัติเกี่ยวกับวัดราชบพิตรฯ จึงทำการค้นคว้าหาข้อมูลจนได้ความกระจ่างชัด และได้เขียนบทความไว้ในหนังสือ เมืองพระ ฉบับเดือนพฤษภาคมนี้ ใครสนใจรายละเอียดทั้งหมดหาอ่านดูได้ ขอกล่าวโดยย่อดังนี้ครับ
     เหรียญครูบาเจ้าศรีวิชียปี2482 จัดสร้างโดยคณะศิษย์ เพื่อรำลึกถึงพระคุณของครูบาและเพื่อร่วมทำบุญในงานพิธีพระราชทานเพลิงศพของครูบาที่จะมีขึ้นวัดจามเทวี ลำพูน ในวันที่21มีนาคม2489 โดยให้ร้านอมราภรณ์ ตึกดิน แกะพิมพ์(ร้านนี้มีชื่อเสียงเพราะเคยแกะเหรียญวัดราชบพิตรปี2481ได้รับความนิยม) แล้วนำเข้าร่วมพิธีปลุกเสกที่วัดราชบพิตร ปี2482(16 ธันวาคม)พิธีใหญ่ครั้งที่5ของวัดราชบพิตร
     พระคณาจารย์ที่ร่วมพิธีปลุกเสกมีดังนี้
1พระธรรมเจดีย์วัดสระเกศ 
2หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง อยุธยา 
3พระธรรมทานาจารย์วัดระฆัง
4หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ไชยชุมพล กาญจนบุรี
5หลวงพ่อจาด วัดบางกะเบา ปราจีนบุรี
 6หลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง นนทบุรี
7หลวงพ่อโศก วักปากคลอง เพชรบุรี
8หลวงพ่อจันทร์ วัดบ้านยาง ราชบุรี
9หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก ฉะเชิงเทรา
10หลวงพ่อเลียบ วัดเลา พระนคร
11หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ สมุทรสาคร
12หลวงพ่อคง วัดบางกระพ้อม สมุทรสงคราม
13หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี
14หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง นครปฐม
15หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ อยุธยา
16หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู ลพบุรี
17หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง นนทบุรี
18หลวงพ่อจง วักหน้าต่างนอก อยุธยา
19หลวงพ่อจันทร์ วัดคลองระนง นครสวรรค์(มาแทนหลวงพ่อเดิม)
20หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน ชุมพร
21พระปลัดมา วัดราชบูรณะ  พระนคร 
   เหรียญครูบาเจ้าศรีวิชัยปี2482 ออกทำบุญที่วัดจามเทวี ลำพูน ในพิธีศพของครูบาฯเมื่อ21มีนาคม2489 มีเนื้อเงิน(กรรมการ) ทองแดง ทองฝาบาตร และเนื้อตะกั่ว มี2บล๊อคคือ บล๊อค2ชาย และบล๊อค3ชาย



วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

ดูตำหนิพพระ ลักษณะใบโพธิ์ก้านพระคง มหาวันลำพูน


1.รอยเสี้ยนไม้ในพิมพ์พระคง
2.รอยเสี้ยนของก้านโพธิ์
3.รอยมาร์ค(หรือรอยหมาย)ในพิมพ์พระคง
4.ปีกพระคง มีในกรณีบางพิมพ์
5.รอยเหนอะขอน้ำว่านบนผนังพระ
6.ส่วนด้านผิวบนขระคล้ายไข่ปลาถ้าส่องด้วยกล้องขนาด 20x หรือกล้องจุลทัศน์
7.ลักษณะของใบโพธิ์ปลายแหลมมีมิติ
8.ลักษณะศิลปะรอยองค์ในใบโพธิ์
9.ลักษณะสร้อยสังวาลย์มีสองเส้น
10.ลายมือด้านหลังพระคง
11.รอย่นลักษณะคล้ายหลังช้าง
12.ผิวพระคงจะมีลักษณะเหมือนไข่ปลา
13.ฐานโพธิ์ทั้งสองด้านชนิดผนังทั้งสองข้า

มาดู ตำหนิพระคง มหาวันลำพูน