ตำหนิพระ ครูบาหลังย่น แท้กับเก๊ |
ตำหนิพระ ครูบาหลังย่น เทียบมวลสารรุ่นต่อรุ่นเป็นพระเนื้อดินเผาผสมเถ้าอัฐิครูบาเจ้าศรีวิชัย โดยเถ้าเฝ่าหรือเถ้าอัฐิที่นำมาใช้เป็นมวลสารผสมลงในองค์พระเครื่องรุ่นดังกล่าวนี้ ได้มาจากบริเวณที่ตั้งเมรุชั่วคราวในงานพระราชทานเพลิงศพครูบาเจ้าศรีวิชัย ณ วัดจามเทวี จ.ลำพูน เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2489 ผสมกับมวลสารพระสกุลลำพูน และ มวลสารอื่น ๆ
ประวัติการจัดสร้าง ครูบาหลังย่น
พระรูปเหมือนอัฐิหลังย่น หรือ พระครูบาหลังย่น มีผู้บันทึกชัดเจนว่าสร้างเมื่อ วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2489 จนถึงปี พ.ศ.2491 โดยถือเป็น รุ่นที่ 1 มีพระครูประสาสน์สุตาคม เป็นประธานจัดสร้าง สำหรับรุ่นที่ 2 นั้น สร้างเมื่อ วันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2496 นอกจากนี้ยังมีการสร้างอีกครั้งเมื่อ พ.ศ.2505 โดยครูบาทึม พรหมเสน โดยนับเป็นรุ่นที่ 3 ซึ่งรุ่นนี้ใต้ฐานองค์พระจะเจาะรูบรรจุเส้นเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัยไว้ สำหรับรุ่นสุดท้ายสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2511 โดยปรากฏอักษรปั๊ม วัดจามเทวี เป็นเครื่องหมาย
พุทธคุณ และ วัตถุประสงค์จัดสร้าง ครูบาหลังย่น
วัตถุประสงค์ในการจัดสร้างพระรูปเหมือนครูบาศรีวิชัย รุ่น อัฐิหลังย่น นั้น กล่าวว่าเพื่อหาทุนสร้างกู่ธาตุที่บรรจุอัฐิธาตุครูบาเจ้าศรีวิชัยในสถานที่ต่าง ๆ โดยนำพระที่จัดสร้างขึ้นบรรจุในพานตั้งไว้กลางวิหารวัดจามเทวี ใครที่ต้องการก็นำพระไปพร้อมกับทำบุญร่วมกุศลตามแต่ศรัทธา เมื่อพระใกล้หมดก็สร้างขึ้นอีกตามช่วงเวลาที่กล่าวถึงข้างต้น ในส่วนของด้านพุทธคุณนั้น กล่าวกันว่าพระเครื่องรุ่นดังกล่าวดีเด่นทางด้านเมตตาและแคล้วคลาด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น