จุดพิจารณา ตำหนิพระ หลวงพ่อโต กรุบางกระทิง พิมพ์สมาธิ
- พื้นผนังข้างหูขวา จะยุบเป็นแอ่ง
- ปลายหูซ้ายจรดชายสังฆาฏิที่พาดไหล่
- ปลายนิ้วพระหัตถ์ซ้ายยาวจรดข้อมือขวา และฝ่ามือขวาที่วางทับพระหัตถ์ซ้ายจะมีเนื้อนูนเล็กๆ ในรูปนิ้วโป้ง
- มี ติ่งเนื้อ ใต้ข้อพระหัตถ์ซ้าย
- บัวกลางด้านบนจะเป็นรูปสามเหลี่ยมคมชัดเจนมาก
จุดพิจารณา ตำหนิพระ หลวงพ่อโต กรุบางกระทิง พิมพ์มารวิชัย
- พื้นผนังข้างหูทั้ง 2 ข้าง เป็นแอ่ง ลงไป
- เส้นซุ้มเหนือเข่าขวา จะเป็นเนื้อนูนออกมาเล็กน้อย
- ปลายส้นพระบาทเป็นติ่งแหลม
- มีเส้นซ้อนใต้พระหัตถ์ซ้าย ลากต่อพาดไปที่พระชงฆ์ (แข้งขวา)
- ศอกซ้ายจะเป็นเนื้อย้อยยาว ดูใหญ่กว่าลำแขน
จุดพิจารณาข้างต้น บางครั้งไม่สามารถยืนยันได้ชัดเจน เนื่องจากพระบางองค์อยู่ในสภาพที่ไม่เห็นจุดพิจารณาเนื่องจาก สึก หัก หรือ บิ่น ดังนั้น ข้อสำคัญในการพิจารณาอยู่ที่เนื้อดิน เป็นหลัก
เนื้อดิน บางท่านบอกง่ายๆ ว่า ต้องเก่า มีการหดตัว มีรอยแตกของเนื้อดินบ้าง เนื่องจากพระแตกกรุ ปี 2504 ดังนั้นหากเป็นพระใหม่จะมีอายุประมาณ 50 ปี ซึ่งต่างจากของจริง มีอายุไม่ต่ำกว่า 250 ปี เนื้อดินย่อมต่างกัน และทุกองค์ที่ผมลงกล้อง พบว่านดอกมะขาม เป็นสีแดงชัด มีมากบ้าง น้อยบ้าง บางองค์ไม่เห็นแต่อาจปนอยู่ในเนื้อพระก็เป็นได้ ส่วนด้านหลัง อาจจะเป็น รอยกาบหมาก หรือ ไม่เป็นก็มี แต่ถ้าจะให้ครบสูตร ต้อง หลังกาบหมาก ก้นหยิกเป็นจงอยออกมา ซอกแขนลึก ซอกหูเป็นแอ่ง และมีว่านดอกมะขาม ครับ
ส่วนบางองค์ ผ่านการลงรัก ปิดทอง ทำให้พิจารณายากขึ้น เนื่องจาก ปิดจุดพิจารณา ซึ่งต้องล้างรักออกจึงจะเห็นชัด แต่ความนิยม โดยทั่วไปจะนิยม องค์ลงรัก ปิดทอง ซึ่งต้องพิจารณาจาก รักเก่า ทองเก่า คู่กันไป ส่วนสมาธิจะนิยมมากกว่ามารวิชัย ทั้งที่หลวงพ่อโต องค์ต้นแบบ วัดพนัญเชิงเป็นปางมารวิชัย
อันนี้ไม่เกี่ยวกับ ตำหนิพระล้านนา แต่แถมให้ครับอิอิ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น