วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ตำหนิพระ พระเลี่ยงลำพูน

พระเลี่ยง ลำพูน ศิลปะิันทรงคุณค่า
ตำหนิพระ พระเลี่ยง กรุประตูลี้ จ.ลำพูน นั้นเป็น 1 ในพระชุด นพคุณ สกุลลำพูน อีกเช่นกันครับ อายุการสร้างก็สร้างขึ้นพร้อมๆ กับ พระรอด กรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน ซึ่งมีอายุการสร้างที่ยาวนานสุดในพระเครื่องชุดเบญจภาคี คือประมาณ 1,200 ปี ครับ เนื้อหาเป็นดินละเอียด กรองกรวดทรายออก สำหรับพระเลี่ยงองค์ที่สอบถามมานั้น พิจารณาจากภาพถ่ายแล้วเป็นพระไม่แท้ครับ ให้สังเกตุพิมพ์ทรงก่อนลำดับแรกครับ ยังคงผิดเพียนไปจากของจริงอยู่ครับ และลำดับต่อมาให้พิจารณาเนื้อหาครับ พระอายุ 1,200 ปี ธรรมชาติ จะต้องมีความแห้งเก่าครับ 
ตำหนิพระ ดูความแตกต่างระหว่างพระแท้กับเก๊

วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ตำหนิพระ พระหลวงพ่อโต กรุบางกระทิง

จุดพิจารณา ตำหนิพระ หลวงพ่อโต กรุบางกระทิง พิมพ์สมาธิ 
- พื้นผนังข้างหูขวา จะยุบเป็นแอ่ง
- ปลายหูซ้ายจรดชายสังฆาฏิที่พาดไหล่
- ปลายนิ้วพระหัตถ์ซ้ายยาวจรดข้อมือขวา และฝ่ามือขวาที่วางทับพระหัตถ์ซ้ายจะมีเนื้อนูนเล็กๆ ในรูปนิ้วโป้ง
- มี ติ่งเนื้อ ใต้ข้อพระหัตถ์ซ้าย
- บัวกลางด้านบนจะเป็นรูปสามเหลี่ยมคมชัดเจนมาก

จุดพิจารณา ตำหนิพระ หลวงพ่อโต กรุบางกระทิง พิมพ์มารวิชัย 
- พื้นผนังข้างหูทั้ง 2 ข้าง เป็นแอ่ง ลงไป
- เส้นซุ้มเหนือเข่าขวา จะเป็นเนื้อนูนออกมาเล็กน้อย
- ปลายส้นพระบาทเป็นติ่งแหลม
- มีเส้นซ้อนใต้พระหัตถ์ซ้าย ลากต่อพาดไปที่พระชงฆ์ (แข้งขวา)
- ศอกซ้ายจะเป็นเนื้อย้อยยาว ดูใหญ่กว่าลำแขน

จุดพิจารณาข้างต้น บางครั้งไม่สามารถยืนยันได้ชัดเจน เนื่องจากพระบางองค์อยู่ในสภาพที่ไม่เห็นจุดพิจารณาเนื่องจาก สึก หัก หรือ บิ่น ดังนั้น ข้อสำคัญในการพิจารณาอยู่ที่เนื้อดิน เป็นหลัก 

เนื้อดิน บางท่านบอกง่ายๆ ว่า ต้องเก่า มีการหดตัว มีรอยแตกของเนื้อดินบ้าง เนื่องจากพระแตกกรุ ปี 2504 ดังนั้นหากเป็นพระใหม่จะมีอายุประมาณ 50 ปี ซึ่งต่างจากของจริง มีอายุไม่ต่ำกว่า 250 ปี เนื้อดินย่อมต่างกัน และทุกองค์ที่ผมลงกล้อง พบว่านดอกมะขาม เป็นสีแดงชัด มีมากบ้าง น้อยบ้าง บางองค์ไม่เห็นแต่อาจปนอยู่ในเนื้อพระก็เป็นได้ ส่วนด้านหลัง อาจจะเป็น รอยกาบหมาก หรือ ไม่เป็นก็มี แต่ถ้าจะให้ครบสูตร ต้อง หลังกาบหมาก ก้นหยิกเป็นจงอยออกมา ซอกแขนลึก ซอกหูเป็นแอ่ง และมีว่านดอกมะขาม ครับ

ส่วนบางองค์ ผ่านการลงรัก ปิดทอง ทำให้พิจารณายากขึ้น เนื่องจาก ปิดจุดพิจารณา ซึ่งต้องล้างรักออกจึงจะเห็นชัด แต่ความนิยม โดยทั่วไปจะนิยม องค์ลงรัก ปิดทอง ซึ่งต้องพิจารณาจาก รักเก่า ทองเก่า คู่กันไป ส่วนสมาธิจะนิยมมากกว่ามารวิชัย ทั้งที่หลวงพ่อโต องค์ต้นแบบ วัดพนัญเชิงเป็นปางมารวิชัย
อันนี้ไม่เกี่ยวกับ ตำหนิพระล้านนา แต่แถมให้ครับอิอิ

วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ตำหนิพระ หลวงพ่อเงินคอแอล 15

หลวงพ่อเงินคอ L ปี15

พิธีมหาพุทธาภิเษก พระหลวงพ่อเงิน ปี 15 บันทึกไว้ว่า การลงอักระแผ่นโลหะที่นำมาเป็นชนวนเนื้อพระ ได้มาจากพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงจากทั่วประเทศ จำนวน 74 รูป นำไปหลอมและปั๊มเป็นรูปเหมือน และเหรียญ แล้วนำไปเข้าพิธีปลุกเสก ณ วัดสุทัศน์ในวันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2514 โดยนิมนต์พระคณาจารย์จากทั่วประเทศรวม 127รูป จากนั้นได้นำไปเข้าพิธีปลุกเสกอีกครั้ง ณ วัดหิรัญญาราม เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2515 โดยมีพระคณาจารย์ร่วมพิธี 96 รูป
***** ลักษณะรูปเหมือนปั๊ม หลวงพ่อเงิน บางคลาน ปี 15 เป็นรูปเหมือนปั๊มแบบปั๊มเครื่อง ด้านในองค์ บรรจุเม็ดกริ่ง ฐานกว้างประมาณ 1.8 ซม. สูงประสาณ 2.5 ซม. มีด้วยกัน 2 เนื้อ คือ เนื้อทองเหลือง
และเนื้ออัลปาก้า
***** ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อเงิน นั่งสมาธิบนฐานเขียงเตี้ยๆ คล้ายกับรูปหล่อหลวงพ่อเงินยของเก่า แต่เนื่องจากเป็นพระ"ปั๊ม" จึงปรากฏรายละเอียดต่างๆ คมชัด มีเส้นจวรที่หน้าอก 3 เส้น และเส้นชายจีวรที่ซอกแขนซ้ายรวม 7 เส้น
***** ใต้ฐาน จะทำการตอกโค๊ต "๑๔/๑๕ แต่เนื่องจาก...ทำการตอกโค๊ตไปเรื่อยๆ ทำให้โค๊ตเกิดความเสียหาย ฉะนั้น รูปเหมือนปั๊มรุ่นนี้ ในบางองค์จะมีโค๊ต บางองค์ไม่มีโค๊ตตอกไว้ เพราะโค๊ตพังแล้ว นั่นเอง
 จุดพิจารณา รูปเหมือนปั๊ม หลวงพ่อเงิน ปี 15 พิมพ์คอแอล 
1. ในระหว่างแก้มขวาองค์พระ และใบหูขวา จะปรากฏเม็ดกลมเล็กๆ ลักษณะเหมือน "เม็ดสิว"
2. ลำคอด้านขวาองค์พระ แตกเป็นเส้นตรง ตั้งฉาก เหมือน "ตัวแอล" เป็นเอกลักษณ์ของพิมพ์
3. ลายเส้นจีวรเส้นกลาง จะแตกอกเป็น 2 แฉก
4. มี "ติ่ง" แหลม วิ่งขึ้นจากแข้งขวา ตรงแนวเส้นสบง
5. มีร่องแตกเป็น 2 แฉก บริเวณโหนกแก้มซ้ายองค์พระ ใกล้จมูก
6. มี " เส้นแตก" ตัดเป็นรูปกากบาท ในร่องหูซ้ายองค์พระ
7. ในซอกแขนซ้ายองค์พระมี "เส้นนูน" พาดเฉียงขวางอยู่

วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ดู ตำหนิพระรอด วัดพระสิงห์



ตำหนิพระรอด 
เนื่องจากพระพิมพ์นี้มีความนิยมสูงจึงทำให้มีของเก๊ออกมานานแล้วครับ แต่มีจุดสังเกตุบางอย่างที่ของเก๊ทำไม่ได้ครับ หรือทำแล้วไม่เหมือนครับ ลองเอนองค์นี้ไปเทียบดูได้ครับเพื่อเป็นวัคซีนป้องกันของปลอม ตำหนิพระรอด วัดพระสิงห์
1. เส้นแตกที่หูซ้ายจำนวน 2 เส้นเส้นแรกจากปลายยอดเกศทำมุมเฉียงเท่ากันขึ้นไปทางขวาจนชนขอบอีกเส้นถัดลงมาเล็กน้อยขนานกับเส้นแรกทแยงขึ้นชนขอบพิมพ์เช่นกัน
2.เส้นแตกที่หูขวาทำมุม 45 องศาลงไปชนขอบพิมพ์
3.มีเส้นเรียวบางทิ้งดิ่งจากไต้คางพระ และปรากฎให้เห็นอีกครั้งที่สะดือ มีลักษณะเรียวบางแต่คมชัด สังเกตุที่รูปแรก จะพอมองเห็นได้(ของปลอมเส้นตรงนี้จะไม่มี บางองค์มีแต่ไม่คมชัด)
4.ฐานพระมีทั้งหมด 4 ชั้นลักษณะขอบฐานเป็นเหลี่ยมชัดเจน ชั้นบนสุดและล่างสุดจะใหญ่กว่าชั้นที่ 2 และ3

วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ตำหนิพระ เหรียญครูบา 2482* 3 ชาย*

เหรียญครูบาเจ้าศรีวิชัย พิมพ์สายชาย ปลุกเศกโดยคณาจาร์ยสมัยสงครามโลก





               



วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ตำหนิ พระคงลำพูน

ตำหนิพระคงลำพูน สวยๆตำหนิครบ

ตำหนิพระคงลำพูนสังเกตุ ใบโพธิ์ใบโพธิ์ทางขวาพลิ้วไหว สวยงามไม่แข็งกระด้าง
1.ใบโพธิ์ข้างหูขวา จะแตกออกมา 2 กิ่ง พลิ้วไหวสวยไม่แข็งกกระด้าง
2.ใบโพธิ์หูข้างซ้าย มี 2 ใบ มีคม มีร่องแอ่งน้ำกลางใบ ก้านสวย บางองค์เลือนแทบไม่เห็น
3.มีเส้นสังวาล์จากคอ คมชัด บางองค์อาจลบเลือน
4.แขนซ้ายดูเหลือนมีความคม มีสัน
5.สะดือองค์พระค้อนมาทางซ้าย
6.มือด้านซ้าย ปลายมือมีเนื้อเกิน ปลายนิ้วมือซ้าย ไม่ชนแขนขวา
7.เส้นซุ้มตรงแขนซ้ายมือจะสั้นกว่าทางขวามือเสมอ
8.เม็ดบัวแถวที่ 4-5 ยกตัวขึ้นเล็กน้อย มีขีดบางคมตัวS
9.ดูองค์ประกอบ เนื้อของพระต้องเก่า ดิน1000ปี ดูนุ่มหนึบ
ขอบุญบันดาลได้องค์แชมป์ๆซักองค์สาธุ


ตำหนิพระ พระรอดวัดพระสิงห์เชียงใหม่









พระรอดวัดพระสิงห์เชียงใหม่ ที่สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๖ ซึ่งเป็นพระที่ทีมีพุทธคุณใกล้เคียงกับของเดิมมากที่สุด เซียนพระหลายท่านยืนยันว่า พระรอดวัดพระสิงห์ เชียงใหม่ บูชาได้ดีไม่แพ้พระรอดอายุพันกว่าปีของลำพูน พระชุดนี้สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นอนุสรณ์ ในการสร้างพุทธสถานเชียงใหม่ ซึ่งได้กระทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่๒๘ พค ๒๔๙๖ เวลา ๑๑.๔๕ น. และในเดือนเดียวกันนั้นเอง ตรงกับวันขึ้น๑๐ค่ำ เดือน๗ ปีมะเส็ง จัตวาศก จุลศักราช ๑๓๑๕ เริ่มพิธี๙นาฬิกา ๒๑นาที ๔๑ วินาที และเริ่มจุดเทียนชัยเวลา ๑๙.๒๐ น. โดยมี พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เป็นประธาน ประกอบพิธีมหามงคล พระรอดชุดนี้สร้างจำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์ เพื่อนำรายได้สมทบทุนสร้างพุทธสถานเชียงใหม่
วัสดุในการสร้างใช้ดิน บริเวณทิศเหนือของวัดพระคง จังหวัดลำพูน ซึ่งเชื่อกันว่าพระรอดมหาวันในสมัย จามเทวีวงศ์ก็ใช้ดินบริเวณนี้สร้าง จึงทำพิธีตั้งศาลเพียงตาอารธนาขอจากพระพุทธรูปและอารักษ์ที่รักษา ดินแดนแห่งนั้น จากนั้นขุดลงไปเพียง๓ศอกก็พบดินขวยปูตามที่ต้องการ ลักษณะดินละเอียดเหนียว เมื่อนำมาสร้างพระแล้วแกร่งและสวยงามมาก เมื่อได้ดินที่ต้องการแล้วก็ให้อ.ผู้ทรงคุณวุฒิละลายดินด้วยน้ำพระพุทธมนต์ แล้วนำมากรองด้วยผ้าขาว เก็บผงดินที่ละเอียดเหมือนแป้งมาผสมกับผงพระธาตุ ผงพระเปิม ผงพระเลี่ยง ผงพระคง ผงพระรอด ผงสมเด็จบางขุนพรหม ผงตรีนิสิงเห ผงปัทมัง ผงพุทธคุณ และผงอิทธิเจของพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่า เช่นหลวงปุ่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า เมื่อผสมจนเข้าเนื้อเดียวกันแล้วก็ปั้นเป็นก้อนกลม ขนาดเท่าผลส้ม ส่งลงมากรุงเทพ ให้อ.ฉลอง เมืองแก้ว (อ.ขมังเวทย์) เป็นผู้ทำพิธีใส่ธาตุ แล้วนำกลับสู่เมืองลำพูน เพื่อให้ช่างพิมพ์องค์พระออกมาซึ่งมีทั้งหมด๑๑พิมพ์ เมื่อถึงเวลาฤกษ์ พระมหาราชครูวามมุณี กับท่านพราหมณ์พระครูศิวาจารย์แห่งกรุงเทพ เป็นประธานฝ่ายพราหมณ์ มหาปัญจพิธีโอมอ่านศิวะเวทย์อัญเชิญท้าวเทพยดาทั้งหลายที่สิงสถิตในแผ่นดิน ล้านนา อัญเชิญพระวิญญาณ เจ้าแม่จามเทวีและกษัตริย์ทุกพระองค์ เมื่อจุดเทียนชัย พระมหาราชครูอ่านโองการชุมนุมเทวดา เสร็จแล้วพราหมณ์เป่าสังข์ จบแล้วคณาจารย์ทั้งหมดนั่งปรกบริกรรม ปลุกเศกเป็นเวลา๓วัน๓คืน
คณาจารย์ที่ร่วมในพิธี ก็ล้วนแล้วแต่เป็นที่เคารพนับถือของประชาชน เช่น เจ้าคุณศรีสมโพธิ์ วัดสุทัศน์ , เจ้าคุณศรีสุวรรณวิสุทธิ์ เจ้าคณะจังหวัดลำปาง , หลวงปุ่นาค วัดระฆัง , หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ , หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม , ครูบาวัง วัดบ้านเด่น , พระครูอาคมสุนทร วัดสุทัศน์ , หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ , หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ,หลวงพ่อภักดิ์ วัดบึงทองหลาง , หลวงพ่อทบ วัดเขาชนแดน , หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง , หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ , หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ , หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว , หลวงพ่อสำเนียง วัดเวฬุวัน , ฯลฯ
ในขณะทีทำพิธีบวงสรวงเจ้าแม่จามเทวี มีฝูงผีเสื้อเป็นจำนวนมากบินมาอยู่เหนือเครื่องสังเวย แล้วกระจายบินหายไป คืนที่กระทำพิธีฟ้าคะนองตลอด เกิดแสงแปลบปลาบทั่วท้องฟ้า อากาศเยือกเย็นผิดจากวันอื่นๆ ส่วนคณาจารย์ทั้งหลายต่างเกิดนิมิตรเป็นมงคลต่างๆกัน น่าอัศจรรย์ยิ่ง
ประสบการณ์ ของพระรอดวัดพระสิงห์ ก็เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชน เช่นในคราวที่เกิดสงครามเวียดนาม ประเทศไทยได้ส่งทหารไปร่วมรบกับอเมริกา ส.อ.ธาริน แสงศิริ ได้ถูกส่งตัวไปร่วมรบด้วย ( กองพันเสือดำ ) ซึ่ง ส.อ.ธาริน ได้เล่าว่า ได้รับพระรอดรุ่น ๙๖ จากบิดา คล้องคอไปเพียงองค์เดียว เมื่อได้รับมอบหมายให้ออกลาดตระเวณ ขากลับขณะกำลังกลับเข้าข่าย ก็โดนระเบิด และ ถล่มยิงด้วยอาวุธหนักของเวียดกง ชนิดที่ว่าไม่ได้ตั้งตัว ส.อ.ธาริน บอกว่าขณะกำลังล้มตัวลงเพื่อยิงต่อสู้ ได้เห็นเพื่อนทหารร่วมกองลาะตระเวณโดนอาวุธของเวียดกง ล้มตายกันเกลื่อนกลาด มารู้ตัวอีกทีก็อยู่บนเตียงในโรงพยาบาลแล้ว ร่างกายไม่มีบาดแผล แต่ปรากฏรอยช้ำเป็นจุดๆ ทั่วร่างกาย นี่ล่ะครับ ประสบการณ์ที่ฟังแล้วขนลุกจริงๆ นี่ถ้า สอ.ธารินไม่ได้บูชาพระรอด วัดพระสิงห์แล้ว ป่านนี้จะเป็นอย่างไรผมไม่อยากคาดเดา
ปัจจุบันนี้พระ รอดของวัดพระสิงห์ ยังพอหาได้ตามสนามพระ แต่ ต้องดูให้ดีนะครับ พระที่สร้างมาแล้ว ห้าสิบปี จะยังสด ใหม่ และ มีกลิ่นดินไม่ได้แล้ว สนนอัตราเช่าหาก็ยังไม่สูงมาก อยู่ในหลักพันกว่าๆ ถึงพันอ่อนๆเท่านั้น ยังไม่สูงเกินไป ห้อยพระหลักพัน พุทธคุณไม่ต่างจากพระหลักแสน หลักล้าน อย่างนี้สิครับ ถึงเรียกได้ว่า "ของดีราคาถูก" อย่างแท้จริง เหมาะสมกับฐานะในกระเป๋าของผม อีกทั้งยังไม่ต้องไปเสี่ยงกับ ของเก๊ ที่เอามาย้อมแมวขายในราคาหลายๆหมื่น หรือเป็นแสนอีกด้วยครับ
สรรพคุณของเฉดสีพุทธานุภาพ บนองค์พระรอดประกอบด้วย
สีขาว ดีด้านเมตามหานิยมและแคล้วคลาด
สีเหลือง ( พิกุล) ดีด้านเมตามหานิยม ค้าขายดี เสริมส่งบุญบารมี
สีแดง ดีด้านแคล้วคลาด กำบังตาข้าศึกศัตรูผู้ลอบทำร้าย
สีเขียว ดีด้านใช้เดินป่าป้องกันสัตว์ร้าย ภูตผีปีศาจ แคล้วคลาดจากภัยธรรมชาติ
สีดำ( หายากที่สุด) ดีด้านคงกระพันชาตรี บารมี ชื่อเสียง มหาอำนาจ และแคล้วคลาด

พระคาถาปลุกเสก วีธีใช้พระรอด
ถ้า จะยาตราไปแห่งใดๆให้ตั้งสัจจะบารมีต่อคุณพระพุทธเจ้าก่อน แล้วเอาปัญญาพิจารณาเหตุว่าคุณพระพุทธเจ้า จะเป็นที่พึ่งได้แค่ 3 ประการคือ อุปัจเฉทกกรรม 1 อุปปีลกกรรม 1 ปัจจุบันกรรม 1
นี้คุณพระพุทธเจ้าช่วยได้เที่ยงแท้ แต่บุราณกรรม สิ่งเดียวที่พระพุทธเจ้าช่วยมิได้เลย เป็นเที่ยงแท้
แต่ อันกูจะไป ในบัดนี้จะรู้ว่าเป็นกรรมสิ่งใดก็มิได้รู้ ถึงการเป็นบุราณกรรมแล้วก็ดี ก็จะขอเอาชีวิตแลกกับพระนิพานเกิด ให้ปลงต่อความตายนั้นแล้วจึงไปหาเกิดหาอันตรายมิได้เลย
คาถานี้ใช้ได้กับ พระรอดรุ่นเก่า รุ่นใหม่ทุกรุ่น ทุกพิมพ์ ทุกวัด แล

ตำหนิพระ เหรียญครูบา ปี 17

ตำหนิพระ ครูบาศรีวิชัย ปี 17

ชี้ตำหนิพระ ครูบาศรีวิชัย ปี 17 หัวหนาม นิยม
1.ตรงเศียรจะมีลักษณะเป็นปุ่มๆ ไข่ปลา
2.จะเห็นเส้นขีดปั้ง ย้อนกลับ คมๆ 2ขีด ทีข้างขมับ
3.รอยตัดขอบมีขีดบั้ง
4.ดูความเก่าของเหรียญต้องได้กับปี ไม่นูดและบวมเบียว